ให้อาหารปลานิลในกระชัง
ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
อาหารปลานิล
สำหรับการเลี้ยงปลานิลในกระชัง
ถือว่าเป็นรูปแบบการเลี้ยงปลาแบบพัฒนา (Intensive) หรือกึ่งพัฒนา (Semi intensive) เน้นการให้อาหารเพื่อเร่งผลผลิตและการเจริญเติบโตเป็นหลัก
จึงควรให้อาหารจำพวกโปรตีนค่อนข้างสูง และเหมาะสมกับความต้องการของปลานิลแต่ละขนาด
และปัจจัยสำคัญที่เกษตรผู้เลี้ยงปลาควรพิจารณา ในการให้อาหารปลานิลในกระชัง
มีดังนี้ครับ
1.
ปริมาณโปรตีนในอาหารสำหรับปลานิล ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของปลานิลที่มีอายุแตกต่างกัน
ปริมาณโปรตีนในอาหารปลาก็จะแตกต่างกันด้วย แต่สำหรับลูกปลานิลวัยอ่อน (Juvenile) และลูกปลานิ้ว (Fingerling)
เป็นช่วงที่ต้องการอาหารที่มีระดับโปรตีนประมาณ 30-40 % แต่สำหรับปลานิลใหญ่
จะต้องการอาหารที่มีปริมาณโปรตีนลดลงมาเพียง 25-30 %
2. ช่วงเวลาในการให้อาหาร “ปลานิล”
โดยปกติแล้วปลานิลจะกินอาหารได้ดีในสภาพน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง
ซึ่งจะเป็นช่วงเวลากลางวัน เพราะฉะนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลควรให้อาหารปลานิลในเวลากลางวันเป็นดีที่สุดครับ
3. ความถี่ในการให้อาหาร
“ปลานิล” ปลานิลจัดว่าเป็นปลาที่ไม่มีกระเพาะอาหารจริง
จึงเป็นปลาที่กินอาหารได้ทีละน้อยและมีการย่อยอาหารที่ค่อนข้างช้า
การให้อาหารครั้งละมากๆ จะทำให้สิ้นเปลืองเปล่าๆ และยังอาจจะทำให้เกิดน้ำเสียได้
ดังนั้นในการให้อาหารปลานิลให้ได้ประโยชน์สูงสุดจึงควรให้อาหารทีละน้อย
แต่ให้บ่อยๆ 4-5 ครั้งต่อวันก็พอ
จะทำให้ปลานิลกินอาหารได้หมดและเจริญเติบโตเร็วขึ้นด้วย
4. อัตราการให้อาหาร
“ปลานิล” สำหรับปริมาณอาหารสำหรับปลานิล
ให้เราพิจารณาจากขนาดของปลานิลและอุณหภูมิของน้ำ หากอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น
ก็จะทำให้ปลานิลกินอาหารได้มากขึ้นด้วย สำหรับอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมจะอยู่ที่
25-30 องศาเซลเซียส และควรให้อาหารปลา 20 % ของน้ำหนักปลา แต่สำหรับขนาดเล็กในปลารุ่น
อัตราการให้อาหารจะลดลงเหลือประมาณ 6-8 % และสุดท้ายสำหรับปลานิลขนาดใหญ่ อัตราการให้อาหารจะเหลือเพียงประมาณ
3 - 4 % ของน้ำหนักตัวปลาครับส่วนการจัดการระหว่างการเลี้ยงปลานิลในกระชัง
ควรมีการตรวจสอบกระชังปลา และมีการซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทุกๆสัปดาห์
รวมทั้งเกษตรกรควรสุ่มจับปลานิลที่เลี้ยง มาตรวจสอบน้ำหนักด้วย
เพื่อที่จะคำนวณปริมาณอาหารสำหรับใช้เลี้ยงปลาได้
ที่มา:
กรมประมง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)