โรคปลานิล ที่เกิดจากปรสิตภายนอก

โรคปลานิล ที่เกิดจากปรสิตภายนอก

โรคปลานิล
สำหรับปรสิตภายนอกที่ทำอันตรายต่อปลานิลก็มีอยู่หลายชนิด โดยปรสิตที่ว่านี้ จะเข้าไปเกาะอยู่ตามบริเวณเหงือก ผิวหนัง และครีบของปลานิล ทำให้ปลาเกิดการระคายเคืองเกิดเป็นบาดแผล ส่วนพวกที่เกาะอยู่บริเวณเหงือก ก็จะทำให้มีผลต่อกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้ปลานิลเกิดปัญหาขาดออกซิเจนได้ ซึ่งปรสิตภายนอกที่เป็นศัตรูของปลานิล ก็มีอยู่มากมายหลายชนิด แต่หลักๆ ก็จะมีดังนี้

โรคที่สำคัญของ "ปลานิล"
1. โปรโตซัว
พยาธิในกลุ่มนี้จะเป็นอันตรายต่อลูกปลานิลมากกว่าปลานิลที่โตแล้ว  ซึ่งชนิดของโรคโปรโตซัวที่พบบ่อยได้แก่ เห็บระฆัง (Trichodina sp,Chilodonella sp,Ichthyophthirius multfilis)
การป้องกันและรักษา: ใช้ฟอร์มาลิน (formalin) อัตราเข้มข้น 5-50 ppm

2. ปลิงใส ทำให้เหงือกปลานิลบวม
ศัตรูปลานิลที่ว่านี้ ได้แก่ Gyrodactylus sp และ Dactylogyrus sp ซึ่งพวกนี้จะเข้าไปเกาะบริเวณเหงือกปลานิล ทำให้เหงือกมีผิวหนาขึ้น หรือเกิดอาการบวม ทำให้ปลานิลหายใจไม่สะดวก
การป้องกันและรักษา: ใช้ฟอร์มาลิน (formalin) อัตราเข้มข้น 5-50 ppm

3. ครัสเตเซียน ปรสิตกินเนื้อเยื่อปลานิล
ได้แก่ Argulus sp,Ergasilus sp,Lernaea sp และ Lamproglena sp ซึ่งปรสิตในกลุ่มนี้ จะมีส่วนของอวัยวะที่มีปลายแหลมสามารถฝังเข้าไปในเนื้อปลา เพื่อยึดเกาะและกินเซลล์ หรือกินเลือดของปลานิลเป็นอาหารได้ ซึ่งจะทำอันตรายต่อปลานิลอย่างรุนแรง ทำให้ปลานิลเกิดบาดแผลขนาดใหญ่และเกิดการสูญเสียเลือด จนอาจถึงขั้นตายได้ ซึ่งศัตรูของปลานิลกลุ่มนี้มักพบในปลานิลที่เลี้ยงในกระชังเป็นส่วนใหญ่ครับ

การป้องกันรักษา: ใช้ดิพเทอร์เรกซ์ ในอัตรความเข้มข้น 0.25-0.05 ppm แช่ไว้ตลอด