เลี้ยงปลานิลร่วมกับไก่กระทงบนบ่อปลา

เทคนิคเลี้ยงปลานิล ร่วมกับไก่กระทงบนบ่อปลา
ปัจจุบันอาหารโปรตีนจากปลาได้รับความนิยมบริโภคสูงขึ้นทุกทีครับ ปลานิลเป็นปลาที่ได้รับความนิยมบริโภคมากที่สุด โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณกันว่าแต่ละวันปริมาณ ความต้องการปลานิลมีถึง 40 ตัน แต่ในจังหวัดเชียงใหม่มีการผลิตเพียง 7 ตัน/ วัน ( เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธุ์ 2545 : 1) นอกนั้นต้องนำเข้าจากจังหวัดอื่นๆ เช่น เชียงราย นครสวรรค์ สุพรรณบุรี พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ทำให้เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ขาดโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับตนเอง ความเป็นไปได้ในการขยายการผลิตมีอยู่ แต่การผลิตยังประสบปัญหาด้านการจัดการ โดยเฉพาะการเลี้ยงร่วมกับไก่กระทงบนบ่อปลานิล ทำให้ได้รับผลตอบแทน และผลผลิตที่ต่ำ
 
การหาแนวทางแก้ไขเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร จะเป็นแนวทางในการขยายการผลิตปลานิล ให้เพียงพอกับการบริโภค และเพื่อตอบสนองความต้องการของจังหวัด 

จากการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตปลานิลจังหวัดเชียงใหม่ กรณีเลี้ยงร่วมกับไก่กระทงบนบ่อปลา โดยใช้แพจำลองทางคณิตศาสตร์ Cobb Douglass พบว่า ระดับการเลี้ยงที่เหมาะสมเพื่อให้ได้พันธุ์ปลานิลสูงสุด 

อัตราการลงทุนเลี้ยงปลานิล

1. จะใช้พันธุ์ปลานิล 5,000 ตัว/ ไร่ 

2. มูลไก่แห้ง 5,934 กิโลกรัม/ ไร่ ( ซึ่งเท่ากับการเลี้ยงไก่บนบ่อปลา 824 ตัว/ รุ่น/ บ่อขนาด 1 ไร่) 

3. อาหารปลาแบบเม็ด 1,370 กิโลกรัม/ ไร่ ซึ่งจะได้รับผลผลิตปลานิล 2,705 กิโลกรัม/ ไร่ และมีรายได้ 89,273 บาท/ ไร่ กำไร 53,778 บาท/ ไร่ ณ 

4. ราคาพันธุ์ปลาตัวละ 0.35 บาท มูลไก่แห้งกิโลกรัมละ 1 .67 บาท 

5. ราคาอาหารปลาแบบเม็ดกิโลกรัมละ 17.40 บาท และราคาผลผลิตกิโลกรัมละ 33 บาท
  
การศึกษาประสิทธิภาพการเลี้ยงปลานิลนี้ เป็นการวิเคราะห์โดยใช้หลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เพื่อกำไรสูงสุด การจะนำผลการศึกษาไปใช้จำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับหลักการทางการเกษตร กล่าวคือ การเพิ่มหรือลดการใชัปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์ปลานิล ต้องคำนึงถึงความหนาแน่นของจำนวนปลานิลต่อตารางเมตรหรือต่อไร่ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆด้วย
   
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เลี้ยงปลานิลในกระชัง แบบลดต้นทุน

เลี้ยงปลานิลในกระชัง ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต

การเลี้ยงปลานิลในกระชังมักจะเจอปัญหาในช่วงการเอาลูกปลาลงกระชังใหม่ๆ ซึ่งพบว่าจะมีโรคพยาธิภายนอก

วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น ให้เกษตรกรห่อด่างทับทิม โดยรวบกระชังเข้ามาบริเวณหนึ่ง และเอาด่างทับทิมเทลงไปเพื่อฆ่าเชื้อให้ปลานิล

วิธีการแก้ปัญหาอีกวิธีหนึ่งคือ

1. ใช้กระเทียมประมาณ 1 ขีด 
2. ผสมในอาหารประมาณ 5 กิโลกรัม 
3. ใช้เลี้ยงปลานิลในช่วง 1 เดือนแรกก็จะสามารถช่วยได้
  
การปรับปรุงอุปกรณ์ให้อาหารปลานิล เพื่อป้องกันอาหารลอยออกนอกกระชังโดยเปล่าประโยชน์ อุปกรณ์ดังกล่าว ทำมาจากขวดน้ำดื่มที่มีอยู่ทั่วไป เพียงแค่ตัดด้านล่างขวดออกแล้วเย็บตะแกรงพลาสติกแข็งเข้ามาแทน ทำทุ่นไว้รอบทั้ง 4 ด้าน และเอาเชือกร้อยไว้กับขอบกระชังป้องกันขวดล้ม จากนั้นก็เอาอาหารมาเทใส่ขวด ปลาก็จะมากิน สามารถประหยัดค่าอาหารได้อีกทางหนึ่งด้วยครับ

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง จำเป็นต้องใช้ลูกปลาแปลงเพศ เพราะการเลี้ยงปลานิลต้องการปลาเพศผู้ โดยกระบวนการแปลงเพศปลาปกติจะใช้ฮอร์โมนเพศผู้ผสมลงไปในอาหาร ใช้เลี้ยงลูกปลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ และหลังจากนั้นก็เลี้ยงตามปกติโดยไม่ใช้ฮอร์โมน แต่ในการศึกษาวิจัยแทนที่จะใช้ฮอร์โมนผสมในอาหาร ก็นำฮอร์โมนมาผสมในน้ำแล้วเอาปลามาแช่ นำถาดแช่ลูกปลานิลวางบนโต๊ะขยับสารละลายสำหรับแปลงเพศปลา ใช้ระยะเวลาเพียง 1-2 วันเท่านั้นก็จะได้ปลานิลเพศผู้ประมาณ 80% ซึ่งวิธีนี้สามารถประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการซื้อฮอร์โมนได้ถึงครึ่งหนึ่งของวิธีการผสมฮอร์โมนกับอาหาร ให้ปลานิลกิน


ข้อแนะนำสำหรับการเลี้ยงปลานิล

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในบ่อดินและในกระชัง ควรติดตั้งปั๊มลมหรือปั๊มน้ำด้วย เพื่อแก้ปัญหาเวลาเกิดน้ำเสียหรือวันไหนแดดไม่พอ ฝนตกหนัก ปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำ ก็สามารถเปิดปั๊มลมเพิ่มออกซิเจนในน้ำช่วยให้ปลาไม่ตายได้

เพิ่มผลผลิตปลานิลด้วยสมุนไพร กวาวเครือ

กวาวเครือ สุดยอดสมุนไพรเพิ่มมูลค่าปลานิล
เพิ่มผลผลิตปลานิล

สมุนไพรกวาวเครือ เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย มีสารออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเป็นไฟโตเอสโตรเจน ชนิด miroestrol และ puerarin กวาวเครือขาวสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารปลานิลและสัตว์น้ำได้ทุกส่วน คือ หัว ใบ และเถา

สมุนไพรเพิ่มมูลค่าปลานิล
 การนำกวาวเครือขาวซึ่งมีสาร phytoestrogen ที่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ และการสร้างกล้ามเนื้อมาใช้ในอาหารปลานิล และสัตว์น้ำอื่นๆ ก็เพื่อมุ่งเน้นในการเพิ่มผลผลิต และคุณภาพสัตว์น้ำ เช่น ในปลาสลิดการใช้กวาวเครือขาวเพื่อเพิ่มการสร้างไข่ของปลาเพศเมีย แต่ในปลานิลใช้กวาวเครือขาวเพื่อลดการสร้างไข่ และลดจำนวนลูกของปลานิล และมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของเปอร์เซ็นต์เนื้อของปลานิลได้อีกด้วย
    
ส่วนของ หัว เถา และใบ กวาวเครือขาวมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ระดับแตกต่างกันดังนี้ คือ ในหัวกวาวเครือขาวมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเท่ากับ 4000 พิโคกรัม/กรัม เถามีเอสโตรเจน 190000 พิโคกรัม/กรัม และในใบมีเอสโตรเจน 1700000 พิโคกรัม/กรัม
    
การใช้กวาวเครือขาวในสูตรอาหารปลาสลิดระยะเล็กอายุมากกว่า 1 เดือน ที่ระดับ 0.0003% หรือ1-40 กรัม ปลาป่น 55 กก. น้ำมันปลา 6 กก. สารเหนียว 8 กก. รำละเอียด 19 กก. วีทกลูเต้นท์ 10 กก. วิตามิน 2 กก. ทำให้รังไข่ของปลาสลิดมีการพัฒนาดีขึ้น
    
การใช้กวาวเครือขาวในอาหารสัตว์น้ำยังมีข้อจำกัดในเรื่องของสารพิษคือ butannin ทำให้เกิดอาการมึนเมา เซื่องซึม และมีผลต่อเนื้อเยื่อตับ ต่อมหมวกไต และ เซลล์เม็ดเลือดแดงในสัตว์เลือดอุ่น แต่ในปลาหรือสัตว์น้ำที่มีการใช้กวาวเครือขาวเป็นวัตถุดิบอาหาร ยังไม่มีผลรายงานถึงความเป็นพิษในตัวสัตว์น้ำ

ขั้นตอนการเตรียมกวาวเครือขาวเพื่อผสมในอาหารปลานิล
สูตรอาหารสำหรับปลานิล
1. ข้าวโพด 23 กก.
2. รำละเอียด 20 กก.
3. ไดแคลเซียมฟอสเฟต 1 กก.
4. กากถั่วเหลือง 24 กก.
5. ปลาป่น 25กก.
6. น้ำมันพืช 2 กก.
7. พรีมิกซ์ 2 กก.
8. ใบ, เถา หรือ หัวกวาวเครือขาว 1 กก.
9. สารเหนียว 3 กก.
ผลจากการทดลองให้อาหารผสมกวาวเครือขาวปลานิลเป็นเวลา 90 วัน พบว่า
อัตราการเจริญเติบโตของปลานิลที่ได้รับใบ เถา และหัว กวาวเครือขาวมีค่าไม่แตกต่างกันทั้งในปลาเพศผู้ และเพศเมีย แต่ในปลานิลเพศเมียมีแนวโน้มว่าเปอร์เซ็นต์เนื้อส่วนบริโภคได้มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีค่าใกล้เคียงกับปลานิลเพศผู้ และจำนวนลูกปลานิล ในปลาที่เสริมกวาวเครือขาวมีค่อนข้างน้อยกว่ากลุ่มควบคุมและในปลาเพศผู้พบว่ากวาวเครือขาวมีผลต่อการลดลงของขนาดอวัยวะสืบพันธุ์
เราจะเห็นได้ว่าการเสริมกวาวเครือขาวในอาหารของปลานิล จะมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตปลานิลได้อย่างดี และกวาวเครือขาวที่ใช้สามารถใช้ได้ทั้งในส่วนของ ใบ เถา และหัวกวาวเครือขาว


ขอขอบคุณข้อมูลจาก:ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีอาหารสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดักแด้ สุดยอดอาหารเลี้ยงปลานิล

สูตรอาหารสำหรับปลานิล โดยใช้ดักแด้

ใช้ดักแด้ไหมบ้านทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลืองสำหรับปลานิล
ดักแด้ สุดยอดอาหารสำหรับปลานิล
ปลาป่นนิยมใช้เป็นแหล่งโปรตีนในการผลิตอาหารสัตว์ประเภทปลา เนื่องจากปลาป่น มีกรดอะมิโนครบถ้วนและมีสัดส่วนที่สมดุล ปลาป่นที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์นี้ส่วนหนึ่งเป็นลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งความต้องการปลาป่นมีมากขึ้นทุกปี ราคาจึงสูงขึ้นตามมาด้วย ทำให้การจับสัตว์น้ำในอ่าวไทยสูงขึ้นตามไปด้วย การใช้ดักแด้ไหมทดแทนปลาป่นจึงเป็นการลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ประหยัดต้นทุนของเกษตรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้อีกทางหนึ่งครับ

การใช้ดักแด้ไหมบ้านเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลือง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่จะนำวัสดุพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์การลดจับลูกสัตว์น้ำในอ่าวไทยเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นการลดการนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศและลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดีครับ

สมุนไพร สำหรับเลี้ยงปลานิล

    
สมุนไพร สำหรับนำมาทำอาหารเลี้ยงปลานิล


การนำสมุนไพรมาใช้ในการเพาะเลี้ยงปลานิล และสัตว์น้ำประเภทอื่นๆมีความนิยมมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป

หนอนตายหยาก สมุนไพรสำหรับเลี้ยงปลานิล
สมุนไพรที่นิยมใช้เป็นอาหารปลานิล เช่น เช่น ลูกใต้ใบ หนอนตายยาก สะเดา ตะไคร้ ฟ้าทะลายโจร ขันทองพยาบาท และกวาวเครือขาว เป็นต้น          



การนำกวาวเครือขาวซึ่งมีสาร phytoestrogen ซึ่งสารนี้มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ และการสร้างกล้ามเนื้อมาใช้เป็นอาหารปลานิล หรืออาหารสัตว์น้ำ ก็เพื่อมุ่งเน้นในการเพิ่มผลผลิต และคุณภาพสัตว์น้ำ เช่น ในปลาสลิดใช้กวาวเครือขาวเพื่อเพิ่มการสร้างไข่ของปลาเพศเมีย แต่ในปลานิลใช้กวาวเครือขาวเพื่อลดการสร้างไข่ และลดจำนวนลูกของปลานิล และยังมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของเปอร์เซ็นต์เนื้อของปลานิลเอง เราเห็นได้ว่าวัสดุในท้องถิ่นหลายชนิดสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอาหารสัตว์น้ำ หรือจะใช้ในการทดแทนวัตถุดิบบางชนิดที่มีราคาแพงขึ้นทุกวันได้เป็นอย่างดี

   

ทำอาหารปลานิลอ ย่างง่ายๆ


วิธีทำอาหารเลี้ยงปลานิลอย่างง่ายๆ

อาหารปลานิล
ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลานิลนั้น หากเราสามารถนำวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นของเราเองที่มีผลผลิตในปริมาณมาก มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสำหรับปลานิล หรือสัตว์น้ำประเภทอื่นๆก็จะเป็นการลดต้นทุนการผลิต แถมยังได้เพิ่มผลผลิตปลานิลเพิ่มมากขึ้น และยังเพิ่มคุณภาพ รสชาติของเนื้อปลานิล
ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย  นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น

พืชและสัตว์ที่นำมาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลานิล  
อย่างเช่น มันสำปะหลัง มูลไก่ไข่ ดักแด้ไหม กากถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน กากน้ำตาล เป็นต้น

มันสำปะหลัง  เป็นพืชที่นิยมปลูกกันมาก และยังมีราคาถูก สามารถใช้เป็น
แหล่งพลังงานในอาหารปลานิล และมีคุณสมบัติเป็นสารเหนียวที่ดีอีกด้วย

มูลไก่ไข่  ก็หาได้ไม่ยากครับ สามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารปลานิล และสัตว์น้ำอื่นๆได้อย่างสบายเลยทีเดียว โดยมีโปรตีน 12-14 %

ดักแด้ไหมบ้าน  ก็เป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงไหม ซึ่งผลผลิตก็มีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี สามารถใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารปลานิล และสัตว์น้ำอื่นๆได้อย่างสบายเลยทีเดียว มีโปรตีนมากถึง 50- 52 % ไขมัน 15-30 % และวิตามินบี1 บี2 และวิตามินอี สามารถใช้ทดแทนปลาป่นซึ่งมีราคาแพง และหายาก 

แนวคิดการนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร มาทำเป็นอาหารปลานิล  จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้เพาะเลี้ยงปลานิลโดยแท้จริง